วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ (Apr 2024)

Development of an Online Exhibition using Inquiry-Based Learning Management

  • Siriporn Noiumkar

DOI
https://doi.org/10.14456/jait.2024.11
Journal volume & issue
Vol. 6, no. 2
pp. 179 – 195

Abstract

Read online

The research aimed at 1) developing an online exhibition through inquiry-based learning management for Book Fair at Academic Resource Centre, Mahasarakham University case study, 2) evaluating the quality of the online exhibition, and 3) studying the visitors’ perception towards the online exhibition through inquiry-based learning management. By using Krejcie and Morgan table to determine the sample size, there were 132 Mahasarakham University students participating in the study. The research tools included 1) the online exhibition through inquiry-based learning, 2) the questionnaire for experts regarding the quality of the online exhibition, and 3) the questionnaire for visitors' perception towards the online exhibition based on the principles of inquiry-based learning. The research findings indicated that the online exhibition using inquiry-based learning management consists of 1) the aspect of engagement, 2) the aspect of exploration, 3) the aspect of explanation, 4) the aspect of elaboration, and 5) the aspect of evaluation. The exhibition was presented in a three-dimensional virtual reality format where visitors could experience the content of the online exhibition by navigating through the virtual world as if they were walking through an actual exhibition. The evaluation results of the online exhibition’s quality was at excellent level with the mean value of 4.61. The students’ perceptions when visiting the online exhibition was at high level with the mean value of 4.35. It indicated that the online exhibition could convey its content and story very well. It also allowed visitors to have interactions through chats, conversations, virtual walking in a 3D virtual reality, and freely explore the desired content that were presented in the forms of videos, images, texts, and live broadcasting. This could greatly enhance visitor’s perception and create new experience for them. บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานิทรรศการออนไลน์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ : กรณีศึกษา งาน Book Fair สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ประเมินคุณภาพนิทรรศการออนไลน์ และ 3) ศึกษาการรับรู้ของผู้เข้าชมนิทรรศการออนไลน์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 132 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) นิทรรศการออนไลน์โดยยึดหลักการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้2) แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคุณภาพนิทรรศการออนไลน์ และ 3) แบบสอบถามผู้ชมที่มีต่อการรับรู้นิทรรศการออนไลน์โดยยึดหลักการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผลการวิจัยพบว่า นิทรรศการออนไลน์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ประกอบไปด้วย 1) ด้านการสร้างความสนใจ 2) ด้านการสํารวจและค้นหา 3) ด้านการอธิบาย 4) ด้านการขยายความรู้ และ 5) ด้านการประเมินผล โดยอยู่ในรูปแบบโลกเสมือนจริง 3 มิติ ที่ผู้ชมสามารถรับชมเนื้อหาของนิทรรศการออนไลน์โดยการเดินชมงานในโลกเสมือนจริง ผลการประเมินคุณภาพนิทรรศการออนไลน์ที่ได้จากการวิจัยพบว่าคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และการรับรู้ของนิสิตเมื่อเข้าชมนิทรรศการออนไลน์อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านิทรรศการออนไลน์สามารถทำให้ผู้ชมรับรู้เนื้อหา เรื่องราวของนิทรรศการได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับความจริงเสมือนได้โดยการปฏิสัมพันธ์ทางการแชท พูดคุย เดินชมงานในโลกเสมือนจริงแบบ 3 มิติ และคลิกดูเนื้อหาที่ต้องการได้อย่างอิสระ ทั้งในรูปแบบวิดีโอ ภาพนิ่งและข้อความ รวมถึงการถ่ายทอดสด ซึ่งจะสามารถสร้างการรับรู้ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการออนไลน์ได้มาก และสามารถเพิ่มประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี

Keywords